วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เรื่อง Verb

คำๆหนึ่งในภาษาอังกฤษที่เราใช้กันบ่อยๆก็คือ Verb หรือคำกริยา(การกระทำ)นั่นเอง!!
## ว่าแต่ Verb 3 ช่องที่เราเคยท่องกันตั้งแต่เรียนประถมเนี่ย แต่ละช่องเราจะใช้ยังไง และจะดูยังไงว่าเป็นช่องไหน??? เพราะว่า verb บางตัว 3 ช่องเขียนเหมือนกันหมดเลย ยกตัวอย่างเช่น คำว่า cut
(cut cut cut) 3ช่องเขียนเหมือนกัน
>> มาดูกัน >>
## Verb 3 ช่องในภาษาอังกฤษ ใช้เพื่อบอกกาลเวลา
@ Verb ช่อง 1 ใช้บอกว่า เกิดขึ้นในปัจจุบัน 

>> เทคนิคการดูว่าเป็นVerb ช่อง1
ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ (มีสิ่งเดียว คนเดียว) Verbช่อง1 จะเติมs,es / แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ (หลายสิ่ง หลายคน) Verbช่อง1 ก็ไม่ต้องเติมอะไร
เช่น The girl cuts an apple. (cut เติมs เพราะประธาน the girl มีแค่คนเดียว)
@ Verb ช่อง 2 ใช้บอกว่า เกิดขึ้นในอดีตและจบไปแล้ว

>> เทคนิคการดูว่าเป็นVerb ช่อง2
Verb ช่อง2 จะอยู่ตัวเดียวเดี่ยวๆได้
เช่น The girl cut an apple.
cut เป็นรูปแบบverb ช่อง2 เพราะอยู่ตัวเดียวเด่ียวๆ (ช่อง2ของcut เขียนเหมือนช่อง1และช่อง3)

@ Verb ช่อง3 ไม่สามารถอยู่ตัวเดียวได้!!
-Verb ช่อง3 ต้องใช้ตามหลัง V.to have (Tense Perfect ใช้บอกว่าเหตุการณ์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในอดีต)
เช่น The girl has cut an apple.
cut ในประโยคนี้เป็นVerb ช่อง3 เพราะว่าอยู่ตามหลังhas (เป็นV.to have)
-Verb ช่อง3 ต้องอยู่ตามหลังV.to be
จะแปลว่าถูกทำ(Passive)
เช่น An apple is cut by the girl.
cut ในประโยคนี้เป็นVerb ช่อง3 เพราะอยู่ตามหลัง is (ซึ่งเป็นV.to be) ดังนั้น ความหมายในประโยคนี้ก็คือ แอ๊ปเปิ้ลถูกตัดโดยเด็กผู้หญิงนั่นเอง
# หลักการที่กล่าวไปนั้นจะทำให้เราดูverb แต่ละช่องได้ง่ายขึ้นนะคะ

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Part of speech หรือหน้าที่ของคำ



# part of speech หรือหน้าที่ของคำ เป็นหัวใจของการเขียนประโยคในภาษาอังกฤษ
   เราจะมาเริ่มเรียนรู้กันทีละตัวนะคะ โดยเริ่มจาก

# article หมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำนาม เช่น a, an, the
   เมื่อไรก็ตามที่เราอ่านประโยคต่างๆแล้วเจอ a, an, the --> แสดงว่า แถวนั้นต้องมีคำนามอยู่อย่างแน่นอนค่ะ
   เช่น You are an expert. --> แสดงว่า expert เป็นคำนาม
   เพราะว่ามี an นำหน้านั่นเองค่ะ (expert (n.) แปลว่า ผู้เชี่ยวชาญ)

   จากประโยคในรูป จะเห็นได้ว่า มี A เป็น article (คำนำหน้าคำนาม)
   แสดงว่า แถวนั้นย่อมต้องมีคำนามอยู่ นั่นก็คือ student นั่นเอง